Smiling Garfield

หน่วยการเรียนรู้ที่1 เรื่อง ความเป็นมาของท้องถิ่น


รหัส-ชื่อรายวิชา ส 151 £ £ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม: ประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2
ผู้สอน นายนริศ  ศรวณีย์  โรงเรียนวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ส 4.1 เข้าใจความหมายความสำคัญของเวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ

ตัวชี้วัด

มฐ.ส 4.1 ป.5/1 สืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย

มฐ.ส 4.1 ป.5/2 รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล

มฐ.ส 4.1 ป.5/3 อธิบายความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น

สาระสำคัญ
การสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นจะทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นและเกิดความเข้าใจประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น


สาระการเรียนรู้

ความรู้

1. การสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น

2. การตั้งคำถามและการตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล

3. ความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น

ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด

การจำแนก การให้เหตุผล การสังเคราะห์ การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ
การสรุปความรู้


คุณลักษณะอันพึงประสงค์

มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มุ่งมั่นในการทำงาน



ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)

1. ใบงานที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น

2. ใบงานที่ 2 การตั้งคำถามและการตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล

3. ใบงานที่ 3 ความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น



การประเมินผล

ใบงานที่ 1 ความเป็นมาของท้องถิ่น

การประเมินผล

ใบงานที่  1  ความเป็นมาของท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10  คะแนน)
3
(9  คะแนน)
2
(7-8  คะแนน)
1
(5-6  คะแนน)
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวความเป็นมา
ของท้องถิ่นตนเอง
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของท้องถิ่นตนเอง ได้สัมพันธ์กัน
มีการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของท้องถิ่นตนเอง ได้ มีการจำแนกข้อมูล หรืออธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์
กับตนเองอย่าง
เป็นเหตุเป็นผล
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของท้องถิ่นตนเอง ได้ สอดคล้องกับข้อมูลมีการเขียนขยายความ และยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวความเป็นมาของท้องถิ่นตนเอง ได้ แต่ไม่สอดคล้องกับข้อมูล เขียนตามข้อมูลที่อ่าน ไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม


ใบงานที่  2  การตั้งคำถามและการตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล

เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10  คะแนน)
3
(9  คะแนน)
2
(7-8  คะแนน)
1
(5-6  คะแนน)
เขียนอธิบายหรือสรุปการตั้งคำถามและตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง
เขียนอธิบายหรือสรุปการตั้งคำถามและตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้สัมพันธ์กัน มีการเชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม แสดงให้เห็นความสัมพันธ์
กับตนเองและผู้อื่น
เขียนอธิบายหรือสรุปการตั้งคำถามและตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้ มีการจำแนกข้อมูลหรืออธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองอย่าง
เป็นเหตุเป็นผล
เขียนอธิบายหรือสรุปการตั้งคำถามและตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง ได้สอดคล้องกับข้อมูลมีการเขียนขยายความ และมีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย
เขียนอธิบายหรือสรุปการตั้งคำถามและตอบคำถามทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้ แต่ไม่สอดคล้องกับข้อมูล เขียนตามข้อมูลที่อ่าน ไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม

ใบงานที่  3  ความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น


เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10  คะแนน)
3
(9  คะแนน)
2
(7-8  คะแนน)
1
(5-6  คะแนน)
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองที่แสดงความจริงกับข้อเท็จจริง
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองที่แสดงความจริงกับข้อเท็จจริง ได้ สัมพันธ์กัน มีการเชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเอง และผู้อื่น
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองที่แสดงความจริงกับข้อเท็จจริง ได้ มีการจำแนกข้อมูล อธิบายให้เห็นถึงความ
สัมพันธ์กับตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองที่แสดงความจริงกับข้อเท็จจริง ได้ สอดคล้องกับข้อมูลมีการเขียนขยายความ ยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย
เขียนอธิบายหรือสรุปการสืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองที่แสดงความจริงกับข้อเท็จจริง ได้ แต่ยังไม่สอดคล้องข้อมูลเขียนตามข้อมูลที่อ่านไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม



การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
1. ครูทำการทักทายนักเรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของท้องถิ่น แล้วนำภาพโบราณสถานของท้องถิ่นให้นักเรียนร่วมกันศึกษาและร่วมกันแสดงความคิดเห็น 

2. ครูสรุปเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์เป็นแผนภาพบนกระดาน 

3. ครูให้นักเรียนดูภาพที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แล้วร่วมกันแสดง ความคิดเห็น และให้นักเรียนร่วมกันยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยครูบันทึกเป็นแผนภาพบนกระดาน 

4. ครูจัดบัตรคำเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มจำแนกบัตรคำออกเป็น หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 

5. ครูนำตัวอย่างการนำเสนอความเป็นมาของท้องถิ่น โดยการเล่าเรื่อง ให้ผู้แทนนักเรียนออกมาอ่านให้เพื่อนฟัง จบแล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น 

6. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นของตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตนเองมาเล่าให้เพื่อนฟัง พร้อมแหล่งข้อมูลที่ตนเองไปศึกษาค้นคว้ามา 

7. ครูเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งในท้องถิ่นของตนเอง จากนั้นให้นักเรียนกลุ่มเดิมร่วมกันบอกว่าข้อมูลที่ครูบอกเป็นลักษณะของข้อมูลที่ได้จากแหล่งใด 

8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์เป็นแผนภาพบนกระดาน 

9. ครูนำเรื่องราวองค์พระปฐมเจดีย์มาอ่านให้นักเรียนฟังและร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วให้นักเรียนฝึกตั้งคำถามทางประวัติศาสตร์ คนละ 1 คำถาม 

10. ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาการใช้ข้อมูลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อตอบคำถามอย่างมีเหตุผล โดยครูใช้คำถามให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วบันทึกเป็นแผนภาพบนกระดาน 

11. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มตั้งคำถามทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นตนเอง แล้วร่วมกันหาคำตอบให้กับกลุ่มของตนเองอย่างมีเหตุผล 

12. ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่นแล้วเปรียบเทียบความจริงกับข้อเท็จจริง สรุปเป็นแผนภาพบนกระดาน 

สื่อการเรียนรู้ 


1. ภาพโบราณสถานของท้องถิ่น
 
นี่คือภาพถ่ายของโบราณสถานในประเทศไทย ระบุโดยเลขทะเบียนกรมศิลปากร 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1


2. บัตรคำหลักฐานทางประวัติศาสตร์

3. การนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

4. ประวัติเรื่องราวองค์พระปฐมเจดีย์
 http://www.dhammathai.org/watthai/central/watprapathomchedi.php


แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)


วิชา ประวัติศาสตร์ (รหัส ส15102) ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ความเป็นมาของท้องถิ่น จำนวน 10 ข้อ
โดย นริศ ศรวณีย์ โรงเรียน วัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด



ข้อที่ 1)
การนำเสนอข้อมูลควรยึดหลักในข้อใด
   นำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านที่ดี
   นำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง
   นำเสนอข้อมูลโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว
   นำเสนอข้อมูลโดยใช้หลักฐานเพียงชิ้นเดียว

ข้อที่ 2)
การตรวจสอบและตีความข้อมูลในข้อใดถูกต้อง
   ใช้ข้อมูลที่ตนเองชอบมากที่สุด
   เชื่อเฉพาะข้อมูลที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง
   เพิ่มเติมข้อมูลเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ
   เปรียบเทียบข้อมูลกับหลาย ๆ แหล่งข้อมูล

ข้อที่ 3)
ถ้าต้องการสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น ควรปฏิบัติอย่างไรเป็นขั้นตอนแรก
   กำหนดหัวข้อ
   รวบรวมข้อมูลหลักฐาน
   นำเสนอข้อมูล
   ตรวจสอบลักษณะข้อมูล

ข้อที่ 4)
ข้อใดเป็นหลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษรทั้งหมด
   เครื่องประดับหิน ศิลาจารึก
   สมุดข่อย โบราณสถาน
   ขวานหินขัด ถ้วยชามสังคโลก
   จารึกใบลาน พงศาวดาร

ข้อที่ 5)
ถ้าต้องการทราบประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นควรรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานในข้อใด
   สอบถามจากเพื่อนข้างบ้าน
   โบราณสถานที่เพิ่งก่อสร้าง
   คำบอกเล่าของผู้สูงอายุในท้องถิ่น
   ภาพถ่ายของตนเองตอนเด็ก

ข้อที่ 6)
หลักฐานในข้อใดให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อองค์พระปฐมเจดีย์
   แผนที่
   คำตัดสินของศาลโลก
   แบบสอบถาม
   หนังสือท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์

ข้อที่ 7)
ข้อใดเป็นหลักในการตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล
   ตอบคำถามโดยใช้แนวความคิดเห็นของผู้อื่น
   ตอบคำถามโดยยึดหลักฐานที่ทันสมัยเท่านั้น
   ตอบคำถามโดยยึดความคิดของตนเองเป็นหลัก
   ตอบคำถามโดยรวบรวมจากหลักฐานที่หลากหลาย

ข้อที่ 8)
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของข้อมูลที่เป็นความจริง
   ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นความจริง
   ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นจริงที่แก้ไขไม่ได้
   ข้อมูลที่สรุปว่าเป็นเรื่องจริงโดยอาศัยจากประสบการณ์
   ข้อมูลที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ข้อที่ 9)
ข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง
   คุณปู่เป็นโรคถุงลมโป่งพองเพราะสูบบุหรี่จัด
   ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด
   ประเพณีสงกรานต์มีในเดือนเมษายนของทุกปี
   จังหวัดภูเก็ตอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย

ข้อที่ 10)
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความจริงและข้อเท็จจริง
   ความจริงอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
   ข้อเท็จจริงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา
   ข้อเท็จจริงคือเรื่องราวที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง
   ความจริงคือการขยายความตามความรู้สึกของผู้เล่า






แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)



วิชา ประวัติศาสตร์ (รหัส ส15102) ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ความเป็นมาของท้องถิ่น จำนวน 10 ข้อ
โดย นริศ ศรวณีย์ โรงเรียน วัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม)
คำสั่ง เลือก หรือ เติมคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
ข้อใดเป็นหลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษรทั้งหมด
   ขวานหินขัด ถ้วยชามสังคโลก
   จารึกใบลาน พงศาวดาร
   เครื่องประดับหิน ศิลาจารึก
   สมุดข่อย โบราณสถาน


ข้อที่ 2)
ถ้าต้องการสืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่น ควรปฏิบัติอย่างไรเป็นขั้นตอนแรก
   ตรวจสอบลักษณะข้อมูล
   รวบรวมข้อมูลหลักฐาน
   นำเสนอข้อมูล
   กำหนดหัวข้อ


ข้อที่ 3)
การตรวจสอบและตีความข้อมูลในข้อใดถูกต้อง
   ใช้ข้อมูลที่ตนเองชอบมากที่สุด
   เชื่อเฉพาะข้อมูลที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง
   เพิ่มเติมข้อมูลเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ
   เปรียบเทียบข้อมูลกับหลาย ๆ แหล่งข้อมูล


ข้อที่ 4)
การนำเสนอข้อมูลควรยึดหลักในข้อใด
   นำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านที่ดี
   นำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง
   นำเสนอข้อมูลโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัว
   นำเสนอข้อมูลโดยใช้หลักฐานเพียงชิ้นเดียว


ข้อที่ 5)
หลักฐานในข้อใดให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อองค์พระปฐมเจดีย์
   หนังสือท่องเที่ยวองค์พระปฐมเจดีย์
   คำตัดสินของศาลโลก
   แบบสอบถาม
   แผนที่


ข้อที่ 6)
ข้อใดเป็นหลักในการตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล
   ตอบคำถามโดยใช้แนวความคิดเห็นของผู้อื่น
   ตอบคำถามโดยยึดหลักฐานที่ทันสมัยเท่านั้น
   ตอบคำถามโดยยึดความคิดของตนเองเป็นหลัก
   ตอบคำถามโดยรวบรวมจากหลักฐานที่หลากหลาย


ข้อที่ 7)
ถ้าต้องการทราบประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นควรรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานในข้อใด
   คำบอกเล่าของผู้สูงอายุในท้องถิ่น
   โบราณสถานที่เพิ่งก่อสร้าง
   สอบถามจากเพื่อนข้างบ้าน
   ภาพถ่ายของตนเองตอนเด็ก


ข้อที่ 8)
ข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง
   คุณปู่เป็นโรคถุงลมโป่งพองเพราะสูบบุหรี่จัด
   ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด
   ประเพณีสงกรานต์มีในเดือนเมษายนของทุกปี
   จังหวัดภูเก็ตอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย


ข้อที่ 9)
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับความจริงและข้อเท็จจริง
   ความจริงคือการขยายความตามความรู้สึกของผู้เล่า
   ข้อเท็จจริงคือเรื่องราวที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง
   ข้อเท็จจริงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา
   ความจริงอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์


ข้อที่ 10)
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของข้อมูลที่เป็นความจริง
   ข้อมูลที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
   ข้อมูลที่สรุปว่าเป็นเรื่องจริงโดยอาศัยจากประสบการณ์
   ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นจริงที่แก้ไขไม่ได้
   ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นความจริง






แบบบันทึกสรุปผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
ชื่อ-นามสกุล...................................... เลขที่ ............................................ ชั้น ..................................
วันที่ ................................................ เดือน ........................................................... พ.ศ. ..................
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบันทึกสรุปผลการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้นี้


หน่วยการเรียนรู้ที่..........


นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร หลังจากที่เรียนหน่วยการเรียนรู้นี้แล้ว

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนได้รับความรู้เรื่องใดบ้างจากหน่วยการเรียนรู้นี้

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างในหน่วยการเรียนรู้นี้

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

ผลงานที่นักเรียนชอบและต้องการคัดเลือกเป็นผลงานดีเด่นจาก หน่วยการเรียนรู้นี้คือผลงานใดบ้าง
เพราะอะไร

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนจะสามารถนำความรู้ ความเข้าใจจากหน่วยการเรียนรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

นักเรียนยังไม่เข้าใจเรื่องใดอีกบ้างที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นี้ ซึ่งต้องการให้ครูอธิบายเพิ่มเติม

............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................

หมายเหตุ ให้ครูสำเนาแบบบันทึกนี้เพื่อให้นักเรียนบันทึกทุกหน่วยการเรียนรู้

5 ความคิดเห็น: